ต้นกระท้อน(Sandoricum koetjape)





ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์ Sandoricum koetjape
    วงศ์ Meliaceae
ชื่อพื้นเมือง กระท้อน, สะท้อน; มะต้อง หรือ มะตื๋น (ภาคเหนือ) บักต้อง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ภาคใต้เรียกล่อน เตียน สะตูและสะโต ชื่อจังหวัดสตูลมาจากภาษามลายูหมายถึงกระท้อน
ลักษณะ
นิเวศ
วิทยา
กระท้อนมีถิ่นกำเนิดในอินโดจีนและมาเลเซียตะวันตก ก่อนจะถูกนำไปปลูกที่ประเทศอินเดีย, เกาะบอร์เนียว, ประเทศอินโดนีเซีย, หมู่เกาะโมลุกกะ, ประเทศมอริเชียส, และประเทศฟิลิปปินส์และกลายเป็นพืชท้องถิ่นไป กระท้อนถูกปลูกเป็นพืชเชิงพานิชย์ตลอดพื้นที่ในเขตนี้
ชนิดป่า
 ที่พบ
อยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลำต้น ต้น กระท้อนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นสูงประมาณ 15 – 30 เมตร และมีใบใหญ่ ลำต้นกระท้อนมีรูปทรงไม่แน่นอน ผิวลำต้นเรียบ เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล
ใบ
ใบ ใบกระท้อน เป็นใบประกอบแบบใบเดี่ยว คือ ใบสุดท้ายเป็นใบเดี่ยว แทงออกบริเวณปลายกิ่งของกิ่งแขนง ใบมีก้านใบหลัก ยาว 10-20 เซนติเมตร และตรงกลาง 1 ใบ ซึ่งมีขนาดใหญ่สุด ใบมีลักษณะรูปไข่ สีเขียว แผ่นใบมีลักษณะค่อนข้างเหนียว เนื้อใบหยาบ สากมือ

ดอก
ดอกกระท้อนแทงออกเป็นช่อบนปลายกิ่งบริเวณซอกใบ แต่ละกิ่งมีช่อดอก 4-6 ช่อ ช่อดอกยาว 5-15 เซนติเมตร ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกแตกออกมา 10-20 ดอก หเมื่อบานจะมีสีเหลืองอ่อน ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอมเหลือง

ผล
ผลกระท้อนในทุกสายพันธุ์จะมีลักษณะเหมือนกัน คือ ผลอ่อนมีลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง และมีขนปกคลุมทั่วผล หากกรีดที่ผลจะมียางสีขาวไหลออกมา และเมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน ผิวเปลือกผลหยาบก้าน และมีรอย่นตามแนวยาวของผล ซึ่งจะมองเห็นรอยย่นได้ชัดมากบริเวณขั้วผล โดยเปลือกผลจะมีความหนาบางแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ แต่ไม่ค่อยแตกต่างกันมาก ซึ่งทั่วไปจะมีเปลือกหนาประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด
ช่วงเวลาออกดอกผล ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.-ก.ค.
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ -ผลกระท้อนสุกนำมารับประทานเป็นผลไม้ รับประทานได้ทั้งเปลือกผลที่ให้รสเปรี้ยวอมหวานใช้จิ้มน้ำปลาหวานยิ่งทำให้เพิ่มความอร่อยขึ้น -ผลกระท้อน นิยมนำมาทำกระท้อนดอง และกระท้อนแช่อิ่ม เป็นต้น -เมล็ดกระท้อนนำมาต้มน้ำ ใช้สำหรับฉีดพ่นป้องกันแมลงศัตรูพืชในแปลงผัก
แหล่งอ้างอิง นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. กระท้อน ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550หน้า 23

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้นหว้า(Syzygium cumini)

ต้นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don)

ต้นยอบ้าน(Morinda citrifolia L)