ต้นมะเฟือง(Averrhoa carambola L)





ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ
 ชื่อพฤกษ
ศาสตร์
Averrhoa carambola L.
    วงศ์ Oxalidaceae
ชื่อพื้นเมือง มะเฟืองส้ม (สกลนคร) มะเฟืองเปรี้ยว สะบือ เฟือง
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)   เป็นไม้ต้นพื้นเมืองของอินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา และเป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย มาเลเซีย และบางส่วนของเอเชียตะวันออก รวมทั้งมีเพาะปลูกในสาธารณรัฐโดมินิกัน บราซิล เปรู กานา Guyana ซามัว ตองกา ไต้หวัน French Polynesia คอสตาริกา และ ออสเตรเลีย ในสหรัฐอเมริกามีแหล่งเพาะปลูกเชิงพาณิชย์อยู่ที่ฟลอริดาตอนใต้และฮาวาย
ชนิดป่าที่พบ
พบปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไปมะเฟืองเป็นต้นไม้ที่มีความสวยงาม
ความชื้นสูง  ทั้งที่มีแสงแดดจัด หรือแสงแดดปานกลาง  ในกรณีที่จะปลูกเป็นไม้ประดับ ควรปลูกในที่มีแสงแดดปานกลาง  มีความชื้นสูง ต้นจะเขียวสวย ตัดกับช่อดอกซึ่งมีสีม่วงแกมแดง
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
      ลำต้น    ลักษณะเนื้อ         ไม้
ลำต้นและกิ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน แกนกลางมีไส้คล้ายฟองน้ำมีสีแดงอ่อน ใบประกอบสีเขียว

       ใบ  
ใบประกอบสีเขียว ประกอบด้วยใบย่อย 5-11 ใบ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง

      ดอก

 มีดอกสีชมพูอ่อนไปจนถึงเกือบแดง


       ผล   ผลมีก้นแหลมเป็นเหลี่ยมมีร่องลักษณะเป็นพูประมาณ 4-6 พู

  การขยายพันธุ์
  เพาะเมล็ด  และตอนกิ่ง
   ช่วงเวลา ออกดอก-ผล  ตลอดเดือนกรกฎาคมของทุกปีถือเป็นสวรรค์ของคนที่ชอบรับประทานกระท้อน เพราะ กระท้อน ให้ผลผลิตเพียงปีละครั้ง และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากในเดือนนี้
      การใช้        ประโยชน์และ
  ความสำคัญ
 ผลมะเฟืองสุกมีรสหวานอมเปรี้ยวใช้รับประทานเป็นผลไม้
  –ผลมะเฟืองดิบที่ยังไม่ห่ามหรือสุก นำมาฝานเป็นชิ้นสำหรับรับประทานคู่กับแหนม
  – ผลมะเฟืองห่ามใช้ทำสลัดร่วมกับผักอื่น
  – ผลมะเฟืองห่ามนำมาประกอบอาหาร อาทิ ผัดเปรี้ยวหวาน หรือผลที่เปี้ยวมากใช้ใส่อาหารประเภทต้มยำเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว และชาวจีนใช้มะเฟืองนึ่งรวมกับปลา
  – ผลมะเฟืองสุกนำมาผ่า และแยกเมล็ดออก ก่อนหั่นเป็นชิ้น แล้วนำมาปั่นหรือคั้นเป็นน้ำมะเฟืองดื่ม
 – ผลมะเฟืองที่ยังไม่สุกมากใช้นำมาดองเป็นมะเฟืองดอง มะเฟืองแช่อิ่ม
  – ผลมะเฟืองสุกนำมาปอกเปลือก และยกเอาเฉพาะเนื้อสำหรับทำแยมมะเฟือง

    แหล่ง        อ้างอิง
 นิดดา หงส์วิวัฒน์. มะเฟือง ผลไม้สุขภาพ สรรพคุณต้านโรค. ครัว. ปีที่ 20 ฉบับที่ 236 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557. หน้า 16 - 22

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้นหว้า(Syzygium cumini)

ต้นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don)

ต้นยอบ้าน(Morinda citrifolia L)