ต้นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don)

   ข้อมูล                 รายละเอียด ภาพประกอบ
      ชื่อ พฤกษศาสตร์ (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don)
    วงศ์ Dipterocarpaceae
ชื่อพื้นเมือง กาตีล (เขมร ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบน นครราชสีมา) จ้อง (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมร) ชันนา (ชุมพร) ทองหลัก
   ลักษณะ
      ทาง  นิเวศวิทยา
ไม้ยางนาจะพบอยู่ทั่วไป ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยปกติจะพบไม้ยางนาในป่าดิบแล้ว ในที่ราบลุ่มใกล้ ๆ ลำน้ำ
   ชนิดป่า
    ที่พบ
ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบริมลำธาร ในป่าดิบทั่วไป ที่มีดินอุดมสมบูรณ์
   ลำต้น  ลักษณะ
   เนื้อไม้
ลำต้น ลำต้นตรง เปลือกเรียบหนาสีเทา โคนต้นมีพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
       ใบ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอกกว้าง ปลายใบสอบเรียว เนื้อใบหนา กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 20-35 เซนติเมตร
        ดอก ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ สีน้ำตาล กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบประสานเหลื่อมกัน ปลายกลีบบิดเวียนตามกันแบบกังหัน เกสรเพศผู้มี 25 อัน รังไข่มี 3 ช่อง
        ผล ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปีกยาว 2 ปีก
  การขยาย        พันธุ์   เมล็ด
ช่วงเวลา ออก ดอกผล ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม
   การใช้    ประโยชน์  และความ    สำคัญ น้ำมันยางจากต้นสามารถนำมาใช้โดยตรงเพื่อใช้ผสมชันไม้อื่น ๆ ใช้ยาเครื่องจักสานกันน้ำรั่ว ยาแนวเรือเพื่ออุดรอยรั่ว ทาไม้ ใช้ผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือใช้ทำไต้จุดไฟส่องสว่าง หรือนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
แหล่ง
อ้างอิง
สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้นหว้า(Syzygium cumini)

ต้นยอบ้าน(Morinda citrifolia L)