ต้นยอบ้าน(Morinda citrifolia L)







ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ
        ชื่อพฤกษศาสตร์ Morinda citrifolia  L
    วงศ์ Rubiaceae
ชื่อพื้นเมือง ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบพอลินีเชียตอนใต้ แล้วแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ภาษามลายูเรียกเมอกาดู ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
ชนิดป่าที่พบ พบปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
ลำต้นลักษณะเนื้อไม้  ลำต้น  ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล


       ใบ
ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน
      ดอก
ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม

       ผลผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด
  การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด 
ช่วงเวลา ออกดอก-ผล  ติดดอกออกผลตลอดปี
      การใช้ ประโยชน์             และควา สำคัญ
ลูกยอสุก นำมาจิ้มกินกับเกลือหรือกะปิ
ลูกห่ามใช้ทำส้มตำ
ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก (เวลากินห่อหมกควรกินใบยอด้วย เพราะมีวิตามินสูง)
นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า รากนำมาใช้ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกจะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก
      แหล่งอ้างอิง  หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้นหว้า(Syzygium cumini)

ต้นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don)