ต้นหว้า(Syzygium cumini)
ข้อมูล | รายละเอียด | ภาพประกอบ |
---|---|---|
ชื่อพฤกษศาสตร์ | Syzygium cumini | |
วงศ์ | Myrtaceae | |
ชื่อพื้นเมือง | หว้าขี้แพะ | |
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) | ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน อินเดีย พม่า มาเลเซียและไทย ประเทศไทยพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะตามพื้นที่ชุ่มน้ำ ดินอุดมสมบูรณ์หรือพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำธาร หนอง คลอง บึง | |
ชนิดป่าที่พบ | ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำเพชรบุรี | |
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา | ||
ลำต้น ลักษณะเนื้อไม้ |
ลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล |
|
ใบ | ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ |
|
ดอก | ดอก ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก | |
ผล | ผล ผลเป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 เซนติเมตร ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่ |
|
การขยาย พันธุ์ |
เมล็ด | |
ช่วงเวลา ออกดอก-ผล | ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน | |
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ | เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อยเนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่มผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด | |
แหล่ง อ้างอิง |
ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น