ต้นหว้า(Syzygium cumini)




ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ
        ชื่อพฤกษศาสตร์ Syzygium cumini
    วงศ์ Myrtaceae
ชื่อพื้นเมือง หว้าขี้แพะ
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน อินเดีย พม่า มาเลเซียและไทย ประเทศไทยพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะตามพื้นที่ชุ่มน้ำ ดินอุดมสมบูรณ์หรือพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำธาร หนอง คลอง บึง
ชนิดป่าที่พบ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำเพชรบุรี
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
   ลำต้น
ลักษณะเนื้อไม้
 ลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล


       ใบ   ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ

      ดอก  ดอก ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก




       ผล   ผล ผลเป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 เซนติเมตร ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่

  การขยาย
      พันธุ์
  เมล็ด
   ช่วงเวลา ออกดอก-ผล  ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อยเนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่มผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด
      แหล่ง          
     อ้างอิง
ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don)

ต้นมะเฟือง(Averrhoa carambola L)